ในปัจจุบัน social media เช่น Facebook, LINE,
Twitter และ Instagram นับว่าได้เข้ามามีส่วนสำคัญ
กับชีวิตของคนเราเป็นอย่างมาก แต่ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีทาง
อินเตอร์เน็ตที่เลิศล้ำนี้จะช่วยให้ผู้คน ทั่วโลกสามารถติดต่อ
สื่อสารและเชื่อมโยงกันได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น พฤติกรรม
ของผู้คนในสังคมยุคดิจิตอลเกี่ยวกับการใช้ social media
ในปัจจุบันนี้กลับได้รับการวิพากษ์วิจารณ์กันในสังคมเป็น
อย่างมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเกี่ยวกับการเสพติด
การใช้ social media ที่ก่อให้เกิด “สังคมก้มหน้า”
ซึ่งป็นภัยเงียบร้ายแรงที่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่าง
ผู้คนในสังคมและครอบครัว เนื่องจากทำให้คนสมัยนี้เริ่มมี
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกันลดน้อยลง

ในสังคมไทยปัจจุบัน ปัญหานี้ดูเหมือนกับว่าจะไม่ได้ตกอยู่กับวัยรุ่นเพียงอย่างเดียว แม้แต่ผู้ใหญ่เองก็เริ่ม
มีพฤติกรรมการเสพติด social media และถูกกลืนกินเข้าสู่วัฒนธรรมสังคมก้มหน้าเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
ทุกวันนี้ภาพที่คนในครอบครัวนั่งรับประทานอาหารร่วมกัน แต่พ่อแม่ลูกกลับก้มหน้าสนใจอยู่กับแต่มือถือ
และ
คอมพ์พิวเตอร์แท็ปเล็ตของตัวเองแทนที่จะพูดคุยสนทนากันนั้น ก็นับว่าเป็นสิ่งที่เริ่มปรากฏให้พบเห็น
มากขึ้นในสังคม

สำหรับในงานวิจัยนี้ทางผู้เขียนจะขอเสนอมุมมองเพิ่มเติมนอกเหนือจากผลกระทบที่มาจากปริมาณการใช้
social media โดยเน้นศึกษาถึงลักษณะเฉพาะตัวของบุคคลที่อาจส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ social
media ว่าลักษณะเฉพาะตัวนี้จะส่งผลให้การใช้ social media ของคนๆนั้นก่อให้เกิดประโยชน์หรือ
โทษกับตนหรือไม่อย่างไร ลักษณะเฉพาะตัวของบุคคลที่ผู้เขียนให้ความสนใจในที่นี้คือความสามารถ
ในการมี “สติ” รู้เนื้อรู้ตัวในสิ่งที่กำลังทำอยู่

คำว่า “สติ” ที่กล่าวนี้ก็คงไม่ต่างอะไรจากคำว่าสติในหลักของพระพุทธศาสนา
การมีสตินั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตของคนเรา เพราะการ
มีสติจะช่วยให้เรามีการยับยั้งชั่งใจและคิดไตร่ตรองในเรื่องต่างๆที่เรากำลังกระทำ
หรือกำลังคิดจะกระทำในอนาคต ซึ่งการมีสตินั้นคนเราสามารถนำไปประยุกต์ใช้
ให้เกิดประโยชน์กับชีวิตประจำวันได้ในหลายๆเรื่อง ไม่เว้นแม้แต่กระทั่งในระหว่าง
การเล่น social media

หลายๆคนอาจจะสงสัยว่าการมีสติมันเกี่ยวอะไรกับการใช้ social media  แต่ก่อนอื่นต้องขอทำความ
เข้าใจก่อนว่าสติที่ผู้เขียนกล่าวถึงในที่นี้คือการมีสติรู้ตัวในพฤติกรรม ความคิด และอารมณ์ของตัวเอง
ในเรื่องทั่วๆไปในชีวิตประจำวันเช่นเมื่อเวลาทำอะไรซักอย่างอยู่เราก็รู้ตัวว่ากำลังทำสิ่งนั้นโดยไม่ปล่อยให้
เรามัวแต่ทำไปโดยไม่รู้ตัว การมีสติในลักษณะนี้นอกจากจะช่วยให้เรารู้ตัวว่าเรากำลังทำอะไรอยู่แล้ว
ยังช่วยให้เราไม่ไปหลงยึดติดกับบางสิ่งบางอย่างที่เราพอใจหรือไม่พอใจจากสิ่งที่เรากำลังกระทำด้วย
และด้วยความสำคัญของสติในแง่นี้เอง การที่เรามีสติรู้ตัวเวลาเล่น social media ก็จะช่วยทำให้เรา
เกิดความตระหนักถึงขอบเขตและจุดประสงค์ในการเล่นโดยไม่ไปยึดติดกับความรู้สึกเพลิดเพลินที่ตัวเอง
ได้รับในขณะเล่น social media ซึ่งการคอยมีสติรู้ตัวในระหว่างการเล่น social media นี้เองจะเป็น
สิ่งที่ช่วยเตือนให้เราได้ตระหนักถึงผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาหากเราปล่อยให้การเล่น social media
เข้ามามีอิทธิพลมากเกินไปจนทำให้ชีวิตส่วนตัวและความสัมพันธ์ที่เรามีกับผู้อื่นถูกกระทบได้

ในปัจจุบันมีหลายคนทีเดียวที่สามารถเล่น social media
ได้อย่างเพลิดเพลินเป็นชั่วโมงๆโดยไม่สนใจผู้คนหรือสิ่งต่างๆ
รอบข้าง พฤติกรรมที่ว่านี้อาจจะเรียกได้ว่าเป็น “การเล่น
social media อย่างขาดสติ” สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือคน
กลุ่มนี้มักถูกกลืนกินได้อย่างง่ายดายโดยความรู้สึกพอใจใน
ประสบการณ์บนโลก social media ที่ตัวเองได้รับ
โดยไม่สนว่าสิ่งที่ตัวเองกำลังทำอยู่จะเกิดผลเสียอะไรตามมา


ไม่เพียงเท่านั้น เมื่อได้พบได้เห็นในสิ่งที่ตัวเองไม่พอใจ เช่นเมื่อได้เห็น หรือได้รับข้อความอะไรจากเพื่อนหรือ
คนรู้จักใน social media ที่ขัดใจตัวเองคนพวกนี้จะรู้สึกเป็นเดือดเป็นร้อนกับมันเป็นอย่างมาก และส่งผล
ให้ยิ่งเอาตัวเองไปผูกติดกับสิ่งนั้นมากขึ้นผ่านทางพฤติกรรมที่ไม่ดีที่แสดงออกบน social media ซึ่งการ
ขาดสติในลักษณะนี้สามารถส่งผลเสียต่อพฤติกรรมก้าวร้าวที่ตามมา เช่นการด่าทอกันอย่างเสียๆหายๆบน
social media จนกลายเป็นเรื่องราวฟ้องร้องกันใหญ่โต ซึ่งปัญหานี้เป็นสิ่งที่เรามักได้ยินได้ฟังกันบ่อยใน
ข่าวที่มีการประโคมกันอยู่เรื่อยๆในสังคมปัจจุบัน ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วพฤติกรรมไม่ดีที่เกิดจากการเล่น
social media อย่างขาดสติเหล่านี้ก็จะส่งผลเสียทำให้ความสัมพันธ์ของคนที่ติดต่อกันทาง social
media หรือคนรอบข้างต้องมัวหมองไปในที่สุด

 

สิ่งที่ได้กล่าวมาข้างต้นเกี่ยวกับความสำคัญของการมีสติที่มีต่อการเล่น social media นั้นมีความ
สอดคล้องกับผลวิเคราะห์ทางสถิติที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติที่เก็บจากกลุ่มตัวอย่างคนทำงาน
ในกรุงเทพมหานครจำนวน 211 กลุ่มตัวอย่าง

 

เมื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ social media ในที่ทำงานกับปัญหาด้านความสัมพันธ์
ระหว่างบุคคลโดยเอาการมีสติเข้ามาเป็นตัวแปรกำกับ จะเห็นชัดได้ว่ากลุ่มพนักงานที่โดยพื้นฐาน
เป็นคนมีสติรู้เนื้อรู้ตัวอยู่ในระดับที่ดีอยู่แล้วเป็นกลุ่มที่สามารถลดปัญหาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น
ในที่ทำงานได้จากการใช้ social media ในทางตรงกันข้าม กลุ่มพนักงานที่โดยพื้นฐานเป็นคน
มีสติรู้เนื้อรู้ตัวอยู่ในระดับที่ต่ำกลับแสดงให้เห็นว่าการใช้ social media ในที่ทำงานในระดับที่
มากขึ้นกลับทำให้ปัญหาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่นในที่ทำงานยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นตามไปด้วย
ความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในผลลัพธ์ที่ตามมาจากการเล่น social media ของพนักงานทั้ง
สองกลุ่มนี้จึงเป็นหลักฐานบ่งชี้ได้ดีเกี่ยวกับความสำคัญของการมีสติในการเล่น social media
ซึ่งการมีสตินี้เองสามารถเป็นตัวกำหนดได้ว่าการใช้ social media ของคนๆนั้นจะมีแนวโน้ม
ช่วยลดหรือยิ่งเพิ่มปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่จะเป็นผลพวงตามมา

 

โดยภาพรวมแล้วผลจากงานวิจัยเกี่ยวกับอิทธิพลของการใช้ social media ที่มีต่อปัญหา
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ได้อธิบายมาทั้งหมดสามารถนำมาสรุปได้ว่า การที่คนในสังคม
บางส่วนโจมตีว่า social media เป็นสิ่งที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลแย่ลงนั้นก็อาจ
จะเป็นเหมือนการมองเหรียญแค่ด้านเดียว แท้จริงแล้วอาจไม่ใช่ social media ที่เป็นสิ่ง
ที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านความสัมพันธ์ดังที่ถูกกล่าวหา แต่สิ่งที่เป็นต้นตอของปัญหาความ
สัมพันธ์ที่แท้จริงแล้วคือพฤติกรรมของคนที่ใช้ social media ที่ใช้กันอย่างไม่ถูกต้องนั่นเอง
จะเห็นได้ว่าในกลุ่มคนที่เล่น social media ในปริมาณที่พอควรและมีสติคอยกำกับ
พฤติกรรมตัวเองเป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้ social media ในด้านการ
ลดปัญหาความสัมพันธ์กับผู้อื่น เพราะคนกลุ่มนี้จะรู้ตัวว่าอะไรคือจุดประสงค์ที่แท้จริงของ
การเล่น social media และจะไม่เล่น social media จนเลยเถิดจนก่อให้เกิดปัญหา
ความสัมพันธ์ที่แย่ลงตามมา ซึ่งตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิงกับกลุ่มที่เล่น social media
ในปริมาณที่มากและขาดสติควบคุมพฤติกรรม ซึ่งคนกลุ่มนี้กลับเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มสูง
ที่จะประสบกับปัญหาความสัมพันธ์ที่เพิ่มมากขึ้นในท้ายที่สุด

 

งานวิจัยอ้างอิง

Charoensukmongkol, P. (2015), Mindful Facebooking: the Moderating Role of Mindfulness on the Relationship between Social Media Use intensity at Work and Burnout, Journal of Health Psychology, 1-15

 

 

 

 

 

Copyright © 2014
All rights reserved.