ในปัจจุบัน การใช้ social media ของคนไทยไม่ได้ถูก
จำกัดอยู่แต่เฉพาะการใช้ในเวลาส่วนตัวเพียงอย่างเดียว
แต่คนไทยส่วนใหญ่มักจะใช้ social media ในระหว่าง
เวลาทำงานด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดีเนื่องด้วยผลกระทบที่
อาจจะเกิดขึ้นกับคุณภาพการทำงานนี้เอง หลายๆองค์กร
จึงได้มีนโยบายห้ามไม่ให้พนักงานเล่น social media
ในระหว่างเวลางาน ยิ่งไปกว่านั้นบางองค์กรยังได้ทำการ
บล็อกไม่ใช่พนักงานสามารถเเชื่อมต่อเข้า social
media จากคอมพิวเตอร์ในที่ทำงานได้อีกด้วย

แต่อย่างไรก็ดีข้อจำกัดเหล่านี้ก็ไม่สามารถหยุดพฤติกรรมการเล่น social media ของพนักงานระหว่าง
เวลางานได้อย่างเด็ดขาด เนื่องจากพนักงานก็ยังสามารถแอบเล่น social media จากอุปกรณ์สื่อสาร
แบบพกพาเช่นโทรศัพท์มือถือและคอมพ์พิวเตอร์แท็ปเล็ตซึ่งเป็นการยากที่องค์กรจะควบคุม และเนื่องด้วย
การที่องค์กรไม่สามารถควบคุมการใช้ social media ในระหว่างเวลางานได้อย่างจริงจัง การทำความ
เข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุที่อาจอธิบายการใช้ social mediaในระหว่างเวลางานจึงมีความสำคัญในการช่วย
ให้องค์กรทราบถึงต้นตอของพฤติกรรมตลอดจนผลกระทบที่อาจเกี่ยวข้องกับงาน



การวิเคราะห์ทางสถิติจากข้อมูลที่เก็บจากแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่างพนักงานษริษัทพบว่า มีปัจจัย
เกี่ยวกับที่ทำงานสามประการหลักๆที่อธิบายความสำคัญที่พนักงานมีต่อของการเล่น social media
นั่นก็คือ

1) ความหนักของภาระงานที่ต้องรับผิดชอบ
2) ความสัมพันธ์ที่พนักงานมีต่อเพื่อนร่วมงาน
3) ความสัมพันธ์ที่พนักงานมีต่อผู้บังคับบัญชา

สำหรับประการแรก ลักษณะงานที่หนักหน่วง เช่นต้องทำงานแข่งกับเวลา ภาระงานมาก เวลาพักน้อย
สามารถอธิบายถึงความสำคัญที่พนักงานมีต่อการเล่น social media ในที่ทำงานได้เป็นอย่างมาก
เนื่องจากการเล่น social media นั้นสามารถช่วยผ่อนคลายความเครียดจากงานได้ จึงไม่แปลกที่
พนักงานที่ต้องผจญกับความหนักหน่วงของงานจึงให้ความสำคัญกับการเล่น social media ในที่
ทำงานเป็นอย่างมาก ปัจจัยที่สองที่พบก็คือความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมงาน ซึ่งความสัมพันธ์ที่ดี
นี้ถือเป็นเป็นตัวกระตุ้นให้พนักงานภายในองค์กรสื่อสารกันทาง social media มากขึ้น ซึ่งก็ดูเหมือน
จะเป็นเรื่องปกติในสังคมไทย สำหรับปัจจัยตัวสุดท้ายที่อธิบายความสำคัญของการเล่น social media
ระหว่างงานก็คือความสัมพันธ์ที่ไม่ดีที่พนักงานมีต่อผู้บังคับบัญชา โดยกลุ่มที่มีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับ
ผู้บังคับบัญชานั้นให้ความสำคัญกับการใช้ social media ระหว่างงานในระดับที่สูงกว่ากลุ่มที่มี
ความสัมพันธ์ที่ดี โดยทั่วไปเนื่องจากผู้บังคับบัญชาเป็นคนในองค์กรที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อพนักงาน
ดังนั้นผลที่ได้นี้จึงสะท้อนให้เห็นว่าเมื่อความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชาไม่เป็นที่น่าอภิรมณ์ ก็อาจส่งผล
ให้พนักงานมีความต้องการที่จะเล่น social media ในระหว่างงานมากขึ้น ส่วนนึงอาจเพื่อเพื่อระบาย
ความอัดอั้นที่มีต่อผู้บังคับบัญชา หรืออาจจะเพื่อเป็นการผ่อนคลายจากความเครียดที่มาจากความ
สัมพันธ์ที่ไม่ดีนั้นก็เป็นได้

ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมพบว่า พนักงานที่ให้
ความสำคัญกับการใช้ social media ในที่ทำงานนั้น
มีความพอใจในงานและมีประสิทธิภาพการทำงานอยู่ใน
ระดับที่สูงตามด้วย นอกจากนั้นความพอใจที่พนักงาน
ได้รับจากการเล่น social media ในระหว่างงานนั้น
ยังทำให้พนักงานสามารถจดจ่อกับงานได้ดีอีกด้วย

โดยภาพรวมแล้วผลที่ได้จากงานวิจัยนี้ให้การสนับสนุนว่าการเล่น social media ระหว่างงานนั้น
อาจจะไม่ส่งผลเสียกับงานเสมอไป แต่ในทางตรงข้ามก็อาจจะมีประโยชน์ต่อพนักงานได้ สาเหตุหลักที่
อาจอธิบายได้ก็คือ การเล่น social media อาจช่วยให้พนักงานลดความเครียดที่มีจากการทำงาน
ซึ่งพฤติกรรมการเล่น social media ในที่ทำงานนี้ก็สามารถได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมภายใน
องค์กรและลักษณะของงานได้เช่นกัน โดยเฉพาะการทำงานที่หนักหน่วงและปัญหาความสัมพันธ์กับ
เจ้านายก็อาจส่งผลให้พนักงานต้องพึ่งพา social media ในระหว่างงานมากขึ้นเพื่อช่วยลดทอน
ความเครียดที่ตนมี ความเครียดที่เบาบางลงจากการเล่น social media นั้นก็อาจทำให้พนักงาน
สามารถทำงานและจดจ่อกับงานได้ดีในท้ายที่สุด ซึ่งตัวองค์กรเองก็อาจจะต้องคำนึงถึงลักษณะดังกล่าว
นี้เพื่อประกอบการตั้งนโยบายเกี่ยวกับการใช้ social media ในที่ทำงานด้วยเช่นกัน

 

งานวิจัยอ้างอิง

Charoensukmongkol, P. (2014). Effects of Support and Job Demands on Social Media Use and Work Outcomes, Computers in Human Behavior, 36, 340–349.

 

 

 

 

 

Copyright © 2014
All rights reserved.